หน้าหลัก เอกสารภายใน
ประวัติ

สถานศึกษาสักกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสุรินทร์สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเป็นวิทยาลัยการอาชีพท่าตูมระดับอำเภอ โดยกระทรวงศึกษาธิการ เห็นสมควรให้ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สอดคล้องเพียงพอแก่ความต้องการของประชาชนในชนบทและความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่นรวมทั้งก้าวทันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมของประเทศ จึงจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพท่าตูมขึ้น เพื่อจัดการศึกษา และฝึกอบรมวิชาชีพทุกระดับและประเภทวิชาที่ขาดแคลน อันเป็นการเสริมสร้างและพัฒนากำลังคนของประเทศไทยให้มีคุณภาพในการประกอบอาชีพและมีคุณภาพที่ดีขึ้นจากนโยบาลของรัฐบาลดังกล่าว

วิทยาลัยการอาชีพท่าตูมได้รับการประกาศจัดตั้งโดย ฯพณฯ ก่อ สวัสดิพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535 โดยมีท่านผู้อำนวยการ "พิมาน พอกเพิ่มดี" เป็นผู้ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัย

ในปีงบประมาณ 2535 วิทยาลัยการอาชีพท่าตูมได้รับจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้าง อาคารเรียน อาคารสำนักงาน โรงฝึกงานและบ้านพักครู ฯลฯ เป็นเงิน 24 ล้านบาทเศษในระหว่างการก่อสร้างนั้น กรมอาชีวศึกษามีนโยบายให้วิทยาลัยการอาชีพท่าตูมเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นให้แก่ประชาชนทั่วไปซึ่งวิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นสาชาวิชาการพเิมพ์ดีดไทย 105 ชั่วโมง

ในวันที่ 1 มิถุนายน 2535 ในการดำเนินงานของวิทยาลัยการอาชีพท่าตูมได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากวิทยาลัยฯ พี่เลี้ยงหลายๆแห่งคือ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสุรินทร์ วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พะยา และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอท่าตูมจังหวัดสุรินทร์

ปีการศึกษา 2537 วิทยาลัยการอาชีพท่าตูม ได้ทำการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 4 สาขาดังนี้

1.สาขาวิชาช่างยนต์   2.สาขาวิชาช่างไฟฟ่ากำลัง   3.สาชาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์   4.สาขาวิชาการบัญชี

ปัจุบัน วิทยาลัยการอาชีพท่าตูม เปิดทำการสอน 2 ระดับคือ

1.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)   2.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)

โดยมีหลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอนดังนี้

1.หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พ.ศ. 2556 ประกอบด้วย

สาขาวิชาช่างยนต์   สาขาวิชาช่างโลหะ   สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง   สาขาวิชาการบัญชี

สาชาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์   สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   สาขาวิชาช่างกลโรงงาน   สาขาวิชาช่างโยธา

2.หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2557 ประกอบด้วย

สาขาวิชาช่างยนต์   สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง   สาขาวิชาการบัญชี

สาชาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์   สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

3.หลักสูตรระยะสั้น

4.หลักสูตรวิชาชีพหลากหลาย